การกำหนดขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์
- gmr thep
- 18 มี.ค.
- ยาว 1 นาที

การกำหนดขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆของการเริ่มต้นการทำวิทยานิพนธ์ เพราะจะช่วยจัดสรรการดำเนินการดำเนินงานและกรอบข้อมูลและข้อสรุปต่างๆของเนื้อหาให้ผู้จัดทำได้ลดเวลาการดำเนินการต่างๆได้มากขึ้น ทั้งนี้ได้สรุปหีวข้อหลักๆการทำวิทยานิพนธ์ดังนี้
1. กำหนดชื่อเรื่อง :
เป็นตัวกำหนดทิศทางและสิ่งที่เราคุณสนใจ ที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาที่เรียน หรือไม่ก็ ให้ดูหัวข้อจาก วิทยานิพนธ์ที่เก่าๆรุ่นพี่ทำไว้แล้วให้ดูในส่วนของข้อเสนอแนะสำหรับ การทำวิทยานิพนธ์ครั้งต่อไป จะทำให้สามารถคิดชื่อเรื่องที่น่าสนใจ และกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยตามชื่อเรื่องนั่นเอง ส่วนประโยขน์ที่คาดว่าจะได้รับจะเป็นการเขียนว่า เมื่อวิจัยเรื่องนี้แล้ว วิทยานิพนธ์ให้ประโยชน์อะไร กับใคร และเอาไปใช้ได้อย่างไร
2. ศึกษาวิทยานิพนธ์เก่า ๆ ที่มีคนทำไว้แล้ว :
ขั้นตอนนี้เรียกว่า Literature Review หรือเรียกว่า ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยต้องศึกษาทฤษฎีซึ่งดูจากหัวข้อหรือชื่อเรื่องที่เราศึกษา ดูว่ามีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง และศึกษางานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ที่มีคนทำไว้แล้ว ในหัวเรื่องที่เหมือนกันหรือคล้ายใกล้เคียงกัน
3. กรอบแนวคิดวิทยานิพนธ์ :
ในการทำวิทยานิพนธ์ถือว่าเป็นปัญหาหลักสำหรับนักวิจัยที่ยังไม่มีประสบการณ์มากนัก การกำหนดกรอบแนวคิดมีหลายรูปแบบ ทั้งการกำหนดแบบตัวแปรต้นและตัวแปรตาม และการกำหนดกรอบแนวคิดตามเนื้อหาของการวิจััยกรอบแนวคิดถือเป็นหัวใจหลักของการวิจัยเลยทีเดียว จึงอาจจะต้องปรึกษาผู้รู้หรืออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดที่ถูกต้อง และทำให้การทำวิจัยแบบไม่หลงประเด็น
4. กำหนดขอบเขตของการศึกษาวิทยานิพนธ์ :
ในที่นี้ขอบเขต ประกอบด้วย – เนื้อหา คือระบุว่าจะศึกษาทำวิทยานิพนธ์เรื่องอะไร ครอบคลุมเนื้อหาประมาณไหน – ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กำหนดข้อมูลประชากร และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามหลักสถิติการวิจัย – พื้นที่และระยะเวลาที่ศึกษา เป็นการกำหนดให้ชัดเจนว่าจะศึกษาพื้นที่และระยะเวลาใด
5. เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยเพื่อใช้ในวิทยานิพนธ์ :
ถ้าเป็นการวิจัยแนวสำรวจจะใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม แบบสำรวจถ้าเป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้จะเป็นการออกแบบการทดลองถ้าเป็นวิจัยเชิงทดสอบ เครื่องมือที่ใช้จะเป็นแบบทดสอบ
6. สถิติการวิจัย เพื่อประกอบในวิทยานิพนธ์ :
เป็นเรื่องที่ทำให้คนทำวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่มีแรงจูงใจเนื่องจากอาจจะไม่เข้าใจสถิติ ไม่เข้าใจสูตร ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณ ไม่เข้าใจการหาค่า ไม่เข้าใจการกำหนดตัวแปร ไม่เข้าใจการแปรผล ไม่เข้าใจการสรุปผลจากตาราง ต่างๆเหล่านี้ ซึ่งประเด็นนี้ต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าอย่างมากโดยทั่วไปแล้วสถิติที่ใช้ในการทำวิจัยระดับปริญญาโท จะประกอบด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติพยากรณ์ที่ใช้มักจะเป็น T-test และ F-test หรือ Chi-Square
7. การสรุปและอภิปรายผล ปัญหาสุดท้ายวิทยานิพนธ์ :
เมื่อถึงขั้นตอนนี้บางคนอาจจะพลาดพลั้ง เนื่องจากทำเองมาตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นทำสถิติด้วยต้งเอง แต่ต้องมาเจอปัญหาการอภิปรายผล หลักง่ายๆ ของการอภิปรายผลคือต้องเขียนให้ได้ว่า ผลการวิจัยวิทยานิพนธ์ของเรา สอดคล้อง คล้ายคลึง ได้ผลใกล้เคียงกับวิทยานิพนธ์ของใคร หรือหากไม่สอดคล้องเลย ให้เขียนว่า เราค้นพบอะไร และจะสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่าง ซึ่งต้องเขียนต่อไปในข้อเสนอแนะ
และทั้งหมดนี้คือ ขั้นตอนการเริ่มทำวิทยานิพนธ์ที่อยากจะแนะนำเพื่อไปทำวิทยานิพนธ์ อย่างไรก็ตามเนื้อหารายละเอียด วิทยานิพนธ์ยังมีอีกมากหลายขั้นตอนย่อยต่างๆ ผู้ทำวิทยานิพนธ์ต้องศึกษาอย่างละเอียด และปรึกษาผู้รู้ทางด้านนั้น หากต้องการความช่วยเรื่องใดๆเกี่ยวข้องกับการทำวิทยานิพนธ์ สามารถปรึกษาสอบถามได้นะคะ ทางเรามีทีม รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำวิจัย ทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท
Commenti